วันอังคารที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2561

ต้อยติ่ง

ชื่อวิทยาศาสตร์: Ruellia tuberosa


ชื่ออื่นที่เรียก เช่น   อังกาบฝรั่ง  
                               เป๊าะแป๊ะ
                               ต้อยติ่งเทศ
                               ต้อยติ่งน้ำ
                                minnieroot
                                popping pod 
                                cracker plant 





ต้อยติ่ง มีอยู่ 2 ชนิด ได้แก่ ต้อยติ่งไทย  ต้อยติ่งฝรั่ง

ต้อยติ่งไทย

                เป็นพืชล้มลุกขนาดเล็กเติบโตได้ดีทั้งกลางแจ้งและในร่ม ต้นเจริญเต็มที่สูง 6½ นิ้ว ใบกลมรี ตาแตกยอดได้สี่ข้าง ออกดอกสีม่วงน้ำเงินเฉพาะตอนฤดูฝน เมื่อผสมเกสรแล้วจะให้เมล็ดประมาณ 25-32 เมล็ดอยู่ในฝัก เมื่อฝักแก่จะกลายเป็นสีน้ำตาลหรือสีดำ พอฝักโดนน้ำ (โดยธรรมชาติคือน้ำฝน) ก็จะแตกออกทำให้เมล็ดกระเด็นไปตกที่อื่น ซึ่งเป็นเทคนิคของการขยายพันธุ์ (เด็ก ๆ ชอบเล่นโดยนำฝักแก่ใส่ลงในน้ำให้แตก)


ต้อยติ่งฝรั่ง

         มีความสูงกว่าต้อยติ่งไทย มีความสูง45 – 60 เซนติเมตร ลำต้นมีข้อปล้องโป่งพอง โคนปล้องมีขนสีขาว ใบรูปแถบแกมรูปขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ เส้นใบเป็นร่องลึก แผ่นใบหนาสีเขียวเข้ม ดอกออกเป็นช่อ ดอกรูปกรวย ปลายแยกเป็น 5 กลีบ ขนาด 3- 4 เซนติเมตร กลีบดอกสีชมพู ม่วง และขาว กลางดอกสีเข้ม ฝักรูปกระบอก ยาว 2 – 3 เซนติเมตร เขียวเข้มเกือบดำ เมื่อฝักแก่และได้รับความชื้นหรือสัมผัสน้ำจะดีดตัวอย่างแรงเพื่อกระจายเมล็ด

สรรพคุณ

รากช่วยรักษาโรคไอกรน
ใช้เป็นยาขับเลือด
ยารักษาโรคไต
ช่วยดับพิษในร่างกาย
ช่วยทำให้อาเจียน
ช่วยบรรเทาอาการสารพิษตกค้างในปัสสาวะ


เมล็ด
ใช้พอกฝีเพื่อดูดหนองและช่วยลดการอักเสบ
ช่วยแก้อาการผดผื่นคัน

ใบ
ใช้พอกแก้อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อได้ 
ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ








ขอบคุณรูปภาพและข้อมูลจากgoogle

การจัดการเรียนการสอนแบบOUTDOOR LEANING



ขั้นตอนในการจัดการเรียนรู้

1.พานักเรียนออกไปเรียนรู้ข้างนอกที่มีต้นต้อยติ่งอยู่ และนำเข้าสู่บทเรียนโดยถามคำถามที่น่าสนใจเกี่ยวกับต้นต้อยติ่ง
2.ครูอธิบายความรู้ทั่วไปของต้อยติ่ง
3.ให้นักเรียนได้สัมผัสกับต้นต้อยติ่งของจริง
4.แบ่งนักเรียนเป็น 2 กลุ่ม ให้แต่ละกลุ่ม นำส่วนใดส่วนใดส่วนหนึ่งของต้นต้อยตื่งมาแล้วช่วยกันค้นหาประโยชน์ของชิ้นส่วนที่หามา แล้วออกมานำเสนอ
5.วัดความรู้ความใจของนักเรียนโดยใช้ข้อสอบในแอพพลิเคชั่น plicker ให้นักเรียนทุกคนได้ทำเพื่อวัดความเข้าใจของตนเอง
6.สั่งงานโดยให้นักเรียนสร้างชิ้นงานมานำเสนอในครั้งต่อไป (รายละเอียดอยู่ในวิดีโอด้านล่าง)
7.ให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นเพื่อนำไปปรับปรุงในการเรียนครั้งต่อไปผ่าน เว็บแอพลิเคชั่น Answergarden