วันเสาร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ประโยชน์เซลล์ อิเล็กโทรไลต์


ใบความรู้ เรื่อง ประโยชน์ของเซลล์อิเล็กโทรไลต์

            เซลล์อิเล็กโทรไลต์ เป็นเซลล์ที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานเคมี  ซึ่งสามารถอาศัยหลักการนี้มาประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้  เช่น  การชุบโลหะ  การทำโลหะให้บริสุทธิ์  การถลุงแยกแร่  การแยกสารละลายเกลือด้วยกระแสไฟฟ้า

            1.  การชุบโลหะด้วยไฟฟ้า (Electroplating) คือ  กระบวนการอิเล็กโทรลิซิสอย่างหนึ่งที่อาศัยพลังงานไฟฟ้าทำให้ไอออนของโลหะชนิดหนึ่ง กลายเป็นโลหะเคลือบ หรือ เกาะบนโลหะอีกชนิดหนึ่ง  ซึ่งโดยหลักการนี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เช่น  การป้องกันการผุกร่อนของโลหะบางชนิด  การทำให้โลหะมีความสวยงามและคงทน   ฯลฯ   
            หลักทั่วไปในการชุบโลหะด้วยไฟฟ้า
1. จัดชิ้นงานที่จะชุบต่อเข้ากับขั้วแคโทด  (ขั้วลบ)
2. ต้องการชุบด้วยโลหะใด  ให้ใช้โลหะนั้นเป็นแอโนด  (ขั้วบวก)
3. สารละลายอิเล็กโทรไลต์ต้องมีไอออนของโลหะที่ใช้เป็นขั้วแอโนด 
4. ต้องใช้ไฟฟ้ากระแสตรง  และการกำหนดศักย์ไฟฟ้าที่เหมาะสมก็จะทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่สวยงาม
            เช่น  ต้องการชุบสร้อยเงินให้เป็นสร้อยทอง  นำสร้อยเงินต่อเข้ากับขั้วแคโทด  และใช้โลหะทองคำ ต่อเข้ากับขั้วแอโนด  โดยใช้สารละลายที่มีไอออนของทอง เช่น Au+ ,Au3+ เป็นสารละลายอิเล็กโทรไลต์  แล้วต่อเข้ากับแหล่งกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรง ปรับค่าศักย์ไฟฟ้าให้เหมาะสม จะได้สร้อยทองคำที่ทำจาก โลหะเงิน
ตัวอย่างการชุบชิ้นงานทองแดงโดยใช้ไฟฟ้ากระแสตรง
รูปที่  1  แสดงการชุบชิ้นงานด้วยทองแดงโดยใช้ไฟฟ้ากระแสตรง
            จากภาพอธิบายได้ว่า
1. ต่อโลหะทองแดง  (Cu ) เข้ากับขั้วแอโนด หรือขั้วบวก
2. ต่อชิ้นงานที่จะเคลือบเข้ากับขั้วแคโทด หรือขั้วลบของแบตเตอรี
3. ใช้สารละลาย  Cu2+  เป็นสารละลายอิเล็กโทรไลต์  เช่น  CuSO4(aq)
4. ผ่านไฟฟ้ากระแสตรงที่มีศักย์ไฟฟ้าที่เหมาะสมลงไป
            เมื่อผ่านไฟฟ้ากระแสตรงลงไปในเซลล์ ดังรูป  จะพบว่า  อิเล็กตรอนจากแบตเตอรีจะเคลื่อนลงไปสู่ขั้วแคโทด ทำให้ขั้วนี้มีปริมาณของอิเล็กตรอนมาก  และ Cu2+ ซึ่งเป็นไอออนบวกก็จะเคลื่อนที่เข้ามารับอิเล็กตรอน  เกิดปฏิกิริยารีดักชัน  กลายเป็น โลหะทองแดง เคลือบอยู่บนชิ้นงาน  ขณะเดียวกันที่ขั้วแอโนดซึ่งมีโลหะทองแดงต่ออยู่ก็จะเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันได้  Cu2+  ลงสู่สารละลายเพื่อชดเชยกับ  Cu2+  ที่ลดลง ทำให้ความเข้มขันของสารละลายอิเล็กโทรไลต์คงที่  และอิเล็กตรอนที่ขั้วแอโนดไหลเข้าไปที่ขั้วบวก(แคโทด) ของแบตเตอรี ทำให้กระแสไฟฟ้าครบวงจร  ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นที่ขั้วแอโนด และแคโทด เป็นดังนี้
            ที่ขั้วแอโนด ;  Cu (s)  ®  Cu2+  (aq)  +  2e-
            ที่ขั้วแคโทด  ;  Cu2+ (aq)  +  2e-  ®  Cu (s)
            การชุบโลหะให้ผิวเรียบและสวยงามนั้นขั้นอยู่กับปัจจัยต่อไปนี้
1. สารละลายอิเล็กโทรไลต์ต้องมีความเข้มข้นที่เหมาะสม
2. กระแสไฟฟ้าที่ใช้ต้องปรับค่าความต่างศักย์ให้เหมาะสมกับชนิดและขนาดของชิ้นโลหะที่ต้องชุบ
3. โลหะที่ใช้เป็นแอโนดต้องบริสุทธิ์  และถ้าไม่บริสุทธิ์ต้องใช้สารบางชนิดเติมลงไปเพื่อทำ
ปฏิกิริยา กับสารที่เป็นมลทินไม่ให้มาเกาะบนผิวโลหะที่นำมาชุบ  เช่น    ในทางอุตสาหกรรมจะใส่สารประกอบไซยาไนด์เพื่อให้ทำปฏิกิริยากับโลหะที่เป็นมลทิน โดยจะ เกิดสารประกอบเชิงซ้อน จึงไม่มารบกวนหรือเกาะบนโลหะที่ต้องการชุบ
4. ไม่ควรชุบนานเกินไป  ควรชุบเพียง  2 -3  นาทีเท่านั้น 
ตารางที่  1  การชุบโลหะด้วยไฟฟ้า
โลหะที่ต้องการชุบ
แอโนด
สารละลายอิเล็กโทรไลต์
การนำไปใช้
Cu
Cu
20% CuSO4 , 7% H2SO4
การชุบโลหะเพื่อความสวยงาม
Ag
Ag
4% AgCN ,  4% KCN , 4% K2CO3
ภาชนะต่าง ๆ ที่ใช้กับโต๊ะอาหาร  เครื่องเพชร  พลอย
Au
Cu , C , Ni -Cr
3% AuCN ,  19 % KCN  , K2HPO4  สารละลายบัฟเฟอร์
เครื่องเพชรพลอย
Cr
Pb
25 % CrO3 , 0.25% H2SO4 , 30% NiSO4  ,  2% NiCl2  ,  1% H3BO3
ส่วนต่าง ๆ ในเครื่องยนต์
Ni
Ni
30 % NiSO4  ,  2% NiCl2 , 1% H3BO3
แผ่นพื้นฐานโลหะ
Zn
Zn
4% Zn(CN)2  ,  5% NaCN  ,  8% NaOH  ,  5% Na2CO3
สังกะสีมุงหลังคา
Sn
Sn
8% H2SO4  ,  7% SnSO4
กระป๋องเคลือบดีบุก
            จากตารางที่  1  จะพบว่าในกระบวนการชุบโลหะด้วยไฟฟ้า  จะมี  CN-  อยู่ในสารละลาย                 อิเล็กโทรไลต์ทั้งนี้เพื่อใช้ทำปฏิกิริยากับไอออนของโลหะเกิดเป็นสารประกอบเชิงซ้อน  ทำให้ความเข้มข้นของโลหะไอออนลดลง  เป็นการป้องกันไม่ให้ไอออนบวกของโลหะเกิดเป็นโลหะเคลือบผิวสารที่ต้องการเร็วเกินไป  ซึ่งจะทำให้โลหะเคลือบได้หยาบไม่เรียบ  หลุดง่าย 
           
            2.  การทำโลหะให้บริสุทธิ์ด้วยไฟฟ้า  (Electrorefining)
            การทำโลหะให้บริสุทธิ์  เป็นขั้นตอนหนึ่งในกระบวนการถลุงแร่  โดยทั่วไป  โลหะที่ถลุงได้จากแร่มักจะมีมลทินปนอยู่เล็กน้อย  เพื่อทำให้โลหะนี้บริสุทธิ์มากขึ้นจะใช้กรบวนการอิเล็กโทรลิซิส ที่เรียกว่า Electrorefining    ซึ่งมีหลักการดังนี้
1. นำโลหะที่จะทำให้บริสุทธิ์ต่อเข้ากับขั้วแอโนด (ขั้วบวก)
2. ใช้โลหะบริสุทธิ์อีกแท่งหนึ่งต่อเข้ากับขั้วแคโทด (ขั้วลบ)
3. ในสารละลายอิเล็กโตรไลต์ต้องมีไอออนบวกของโลหะที่ต้องการทำให้บริสุทธิ์ประกอบอยู่ด้วย
4. ต่อเข้ากับแหล่งกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรง  และจัดให้มีศักย์ไฟฟ้าของเซลล์ที่เหมาะสม
            ตัวอย่างการทำโลหะทองแดงที่ได้จากการถลุงแร่คาลโคไพไรด์ (CuFeS2)  ให้บริสุทธิ์ด้วยไฟฟ้า
รูปที่  2  การทำโลหะทองแดงให้บริสุทธิ์ด้วยวิธีการอิเล็กโทรลิซิส

            การถลุงแร่ทองแดงชื่อว่า  คาลโคไพไรด์ (CuFeS2) จะได้โลหะทองแดงที่บริสุทธิ์  99 %  เท่านั้น ถ้าต้องการทำให้บริสุทธิ์ขึ้นอีกต้องนำโลหะทองแดงที่ได้นี้ไปผ่านกระบวนการอิเล็กโทรลิซิส  แยกมลทินในทองแดงออก
            มลทินที่พบในโลหะทองแดงมี  2  ชนิด  คือ
1. โลหะที่ถูกออกซิไดส์ง่าย  (พวกนี้มีค่า  E0  ต่ำ ) เช่น  Zn  ,  Fe
2. โลหะที่ถูกออกซิไดซ์ยาก   (พวกนี้มีค่า  E0  สูง ) เช่น  Pt   , Au  ,  Ag

            การจัดเครื่องมือดังรูป  2  ต่อ  Cu  ที่ไม่บริสุทธิ์เข้ากับขั้วแอโนด  และ  Cu  บริสุทธิ์เข้ากับขั้วแคโทด   จุ่มขั้วทั้งสองในสารละลายอิเล็กโทรไลต์  CuSO4   ผสมกับ  H2SO4  แล้วต่อให้ครบวงจรกับ     แบตเตอรี่ ผ่านไฟฟ้ากระแสตรงที่มีศักย์พอเหมาะลงไป  จะพบว่าเกิดปฏิกิริยาขั้นที่ขั้วแอโนด  และแคโทดดังนี้
            ขั้วแคโทด ;   Cu2+ (aq)  +  2e-   ®  Cu (s)
            ขั้วแอโนด ;    เป็นขั้วที่ต่อกับ  Cu  ไม่บริสุทธิ์ จะเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันขึ้น  โดยโลหะ  Cu  และพวกที่เป็นมลทิน  เช่น  Zn  ,  Fe  (มีค่า  E0  ต่ำ )  จะให้อิเล็กตรอนและเกิดเป็นไอออนบวก คือ  Cu2+  ,  Zn2+  ,  และ Fe2+    ส่วนพวกมลทินที่มี  E0  สูง  เช่น  Ag  ,  Pt  ,  Au   จะให้อิเล็กตรอนยาก  จะตกเป็นตะกอนลงที่แอโนด  เรียกตะกอนของโลหะพวกนี้ว่า  Anode  mud 
                        Cu (s)  ®  Cu2+ (aq)  +  2e-
                        Zn (s)  ®  Zn2+ (aq)  +  2e-
                        Fe (s)  ®  Fe2+ (aq)  +  2e-
            ไอออนบวกของโลหะที่เกิดจากแอโนดในสารละลาย  คือ  Zn2+ (E0  =  -0.76 V)  ,  Fe2+ (E0  =  -0.41 V)ซึ่งมีค่า  E0  ต่ำกว่า  Cu2+  (E0  =  +0.34 V)  ดังนั้นจึงพบว่า  Cu2+  จะเข้าไปรับอิเล็กตรอนและเกิดปฏิกิริยารีดักชันเป็นโลหะ  Cu  ที่แคโทดได้ดีกว่า  Zn2+  ,  และ  Fe2+  ซึ่งรับอิเล็กตรอนยากกว่าและมีโอกาสเกิดเป็นโลหะที่แคโทดได้น้อย  จึงทำให้โลหะทองแดงที่แยกได้ที่ขั้วแคโทด  มีความบริสุทธิ์  99.95 % 
            H2SO4  ที่เติมลงไปจะมีหน้าที่ไปกัดกร่อนให้  Cu  ,  Zn  และ  Fe  เสียอิเล็กตรอนเกิดเป็นไอออนเร็วและง่ายขึ้น
รูปที่  3  แสดงเซลล์อิเล็กโทรไลต์ที่ใช้สำหรับการทำโลหะทองแดงให้บริสุทธิ์ในอุตสาหกรรม
                        .  ก่อนการเกิดอิเล็กโทนลิซิส
                        .  หลังการเกิดอิเล็กโทรลิซิส
                        . เซลล์อิเล็กโทรไลต์ในอุตสาหกรรมสำหรับการทำโลหะทองแดงให้บริสุทธิ์ด้วยไฟฟ้า

3.  การทำอิเล็กโทรลิซิสในการผลิตโลหะ
            .  การผลิตโลหะอลูมิเนียมปี ค..  1886  Charles  Martin    เป็นนักศึกษาที่วิทยาลัย  Oberlin  ใน  Ohio  ประเทศสหรัฐฯ  ได้ประดิษฐ์ เครื่องมือเพื่อใช้ในการทำอิเล็กโทรลิซิสสำหรับผลิตอะลูมิเนียม  และในขณะเดียวกัน  Paul  Heroult  ที่ประเทศฝรั่งเศสก็ค้นพบวิธีการที่ทันสมัยในการผลิตอะลูมิเนียมด้วยการอิเล็กโทรลิซิสในห้องปฏิบัติการที่ปารีส
            ขั้นตอนการผลิตโลหะอลูมิเนียมสามารถสรุปได้ดังนี้
            1.  กระบวนการทำแร่บอกไซด์ให้บริสุทธิ์  เรียก  กระบวนการเบเยอร์   โดยใช้แร่บอกไซด์  (Al2O3)  ที่มีมลทินปน คือ  Fe2O3  และ  TiO2  จึงต้องแยกมลทินออกก่อน  และเนื่องจาก  Al2O3  เป็นสารแอมเฟอเทอริก  (เป็นกรดและเบส)  จึงนำแร่บอกไซด์ที่มีมลทินอยู่ด้วยไปละลายในสารละลาย  NaOH  จะพบว่า  Al2O3  ละลายใน  NaOH  แต่มลทินเป็นออกไซด์ที่มีสมบัติเป็นเบส  ไม่ละลายใน  NaOH  แล้วกรองตะกอนที่เป็นมลทินออก ดังนี้
                        Al2O3  (s)  +  2OH- (aq) +  3H2O(l)    ®   2[Al(OH)4]-  (aq)
                        สารละลายที่ได้เจือจางด้วยน้ำแล้วเติมกรดให้เกิด  Al(OH)3  ตกตะกอนดังนี้
                        [Al(OH)4]-  (aq)  +  H3O+ (aq)  ® Al(OH)3  (s)  +  3H2O(l)
                        กรองตะกอน  Al(OH)3  เผาจะได้   Al2O3  บริสุทธิ์  คือ
                        2 Al(OH)3  (s)   Al2O3 (s)  +  3H2O (g)

            2.  กระบวนการผลิต  Al  จากแร่บอกไซด์(Al2O3 )  เรียกว่าการถลุง  Al  จากแร่บอกไซด์  หรือ  Hall - Heroult  Process    Al2O3  มีจุดหลอมเหลวสูงมาก  (2020  0C)  และ  Al2O3  หลอมเหลวจะนำ  ไฟฟ้าน้อย  การอิเล็กโทรลิซิส  Al2O3  หลอมเหลวจึงไม่เกิดขึ้น  ดังนั้นจึงละลาย  Al2O3  15%  โดยมวลในสินแร่ไครโอไลต์  (Na3AlF6)  เหลวที่อุณหภูมิประมาณ  1000  0C  จะได้สารละลายที่นำไฟฟ้าได้ดี  จากนั้นก็นำสารละลาย  Al2O3  ในแร่ไครโอไลต์เหลวไปแยกด้วยไฟฟ้าในเซลล์อิเล็กโทรไลต์  ที่อุณหภูมิ  950 0C  (ซึ่งต่ำกว่าจุดหลอมเหลวของ  Al2O3  )  ได้โลหะ  Al  ที่มีความบริสุทธิ์  99.0 - 99.8  %   ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นที่ขั้วไฟฟ้าแอโนด และแคโทดเป็นดังนี้
                        ที่แคโทด ;   Al3+  +  3e-  ®  Al (s)
                        ที่แอโนด  ;  2O2-   ®  O2 (g)  +  4e-
                        ปฏิกิริยาสุทธิ  ;  4Al3+   +  6O2-   ®  4Al (l)  +  3O2 (g)

รูปที่  4  เซลล์อิเล็กโทรไลต์สำหรับผลิตอะลูมิเนียม ใช้ขั้วแกร์ไฟต์(C) ด้วยสารละลาย Al2O3 ในแร่ไคโอไลต์
            เนื่องจากการผลิต  Al  โดยการอิเล็กโทรลิซิส  ต้องใช้พลังงานสูงมากประมาณ  15,000  KWh  ต่อ  Al  1  ตัน  จึงมีค่าใช้จ่ายสูง  ดังนั้นจึงนิยมนำโลหะอะลูมิเนียมที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่มากกว่าที่จะใช้วิธีการอิเล็กโทรลิซิสจากแร่บอกไซด์
            .  การผลิตโลหะแมกนีเซียม
            โลหะแมกนีเซียม  เป็นโลหะที่มีน้ำหนักเบา  มีความหนาแน่นต่ำ  (1.74  g/cm3 )  แข็งแรงทนทาน  ใช้ประโยชน์ในการทำโลหะผสม  เช่น  ผสมกับโลหะอะลูมิเนียมสำหรับทำปีกเครื่องบิน  ใช้ทำไส้หลอด ไฟแฟลชเพื่อใช้ในการถ่ายรูป
            แหล่งที่พบโลหะแมกนีเซียม  เกิดจากแร่คาร์บอเนต  และเกลือในน้ำทะเล  โดยในน้ำทะเลพบว่ามี  Mg  อยู่  0.13%
            ขั้นตอนการผลิตโลหะแมกนีเซียม
           
รูปที่  5  แผนภาพแสดงขั้นตอนต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมการผลิตแมกนีเซียมจาก  Mg2+  ไอออนจากน้ำทะเล
            เมื่อนำน้ำทะเลมาเติมเบส (Ca(OH)2 )  จะพบว่า  Mg2+  ในน้ำทะเลจะตกตะกอนอยู่ในรูป  Mg(OH)­2  ดังนี้
                        Ca(OH)2 (s)   +  Mg2+ (aq)  ®  Ca2+ (aq)  +  Mg(OH)2   (s)
            แล้วล้างตะกอน Mg(OH)2   (s)  ออกนำไปทำปฏิกิริยาสะเทินกับกรด  HCl  จากนั้นระเหยน้ำออกจะได้ของแห้ง  MgCl2   ทำให้  MgCl2  หลอมเหลวแล้วผ่านไฟฟ้ากระแสตรงลงไปในเซลล์ ภายใต้บรรยากาศของก๊าซเฉื่อยจะได้  Mg  เหลวออกมา  พร้อมกับก๊าซ  Cl2  ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเป็นดังนี้

                        Mg(OH)2   (s) + 2[ H+ (aq) +  Cl- (aq) ]  ®  Mg2+ (aq) + 2Cl- (aq)  +  2H2O
                        Mg2+ (aq) + 2Cl- (aq)  +  2H2O   MgCl2 (s)
                                    MgCl2 (s)  MgCl2 (l)
                                    MgCl2 (l)  Mg (s)    + Cl2 (g)  
รูปที่  6  เซลล์อิเล็กโทรไลต์สำหรับการแยก  MgCl2  ที่หลอมเหลวด้วยไฟฟ้า  โลหะ  Mg  จะเกิดที่แคโทดลอยอยู่บน  MgCl2  ที่เหลว  และถูกแยกออกเป็นระยะ ๆ ส่วนก๊าซ  Cl2  เกิดรอบ ๆ แกร์ไฟต์ ซึ่งเป็นแอโนด  ผ่านท่อเล็ก ๆ แยกออกไป
            ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นสามารถแสดงได้ดังนี้
                        ที่ขั้วแอโนด (แกร์ไฟต์)   ;   2Cl- (l)  ®  Cl2 (g)  + 2e-
                        ที่ขั้วแคโทด ;      Mg2+ (l)   +  2e-  ®  Mg (s)
                        ปฏิกิริยาสุทธิ  ;  Mg2+ (l)  +  2Cl- (l)  ®  Mg (s)  +  Cl2 (g)
            ในอุตสาหกรรมการผลิตโลหะแมกนีเซียม  แมกนีเซียม  1  กิโลกรัม  ต้องใช้พลังงาน  300  MJ  ดังนั้นจึงต้องมีค่าใช้จ่ายสูง  จึงนิยมนำโลหะแมกนีเซียมที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่มากกว่า  เพราะประหยัด      พลังงานและ ค่าใช้จ่ายได้มากกว่า (แมกนีเซียมที่นำกลับมาใช้ใหม่  1  กิโลกรัมใช้พลังงานเพียง  7  MJ  )
            .  การผลิตโลหะโซเดียม
                        โลหะโซเดียมมีจุดหลอมเหลว( 97.8 0 C)  และความหนาแน่นต่ำ (0.97  g/cm3)  มีความว่องไวทางเคมีสูง  ปัจจุบันใช้โซเดียมสำหรับเป็นสารหล่อเย็นในเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณู  และใช้เป็นตัวรีดิวซ์ในการเตรียมโลหะไททาเนียม (Ti)  และโซเดียมเปอร์ออกไซด์  นอกจากนั้นยังใช้ไอของโซเดียมบรรจุในหลอดไฟเพื่อให้เป็นไฟสีเหลือง
                        ในปี  ..  1807  Sir   Humphrey  Davy  เป็นคนแรกที่แยก  Na  จากการอิเล็กโทรลิซิส  NaOH  ต่อมาในปี  ..  1833  Faraday  และคณะได้แยก  Na  จากการอิเล็กโทรลิซิส  NaCl  หลอมเหลว  แต่อย่างไรก็ตามวิธีการนี้ไม่ใช้ในการผลิตโลหะโซเดียมในอุตสาหกรรม  จนกระทั่งปี  ..  1921   จึงมีการผลิตโลหะโซเดียมในอุตสาหกรรมโดยใช้  Down  cell  โดย  Du  Pont  Chemical  Company
            อุตสาหกรรมการผลิตโซเดียม
                        เมื่อผ่านกระแสไฟฟ้าลงไปใน  NaCl  ที่หลอมเหลว  จะเกิดปฏิกิริยาขึ้นดังนี้
            ที่ขั้วแอโนด  ;      2Cl-  (l)     ®  Cl2  (g)  +  2e-
            ที่ขั้วแคโทด  ;     2Na + (l) +  2e-    ®  2Na (l)
            ปฏิกิริยาสุทธิ  ;   2Na+ (l)  +  2Cl- (l)   ®  2Na (l)  +  Cl2 (l)

รูปที่  7  แสดงแรงดึงดูดระหว่างประจุตรงกันข้ามที่เกิดจาก  Na+  ไอออนเคลื่อนเข้าหาขั้วลบ (แคโทด) 
และ  Cl-  ไอออนเคลื่อนเข้าหาขั้วบวก  (แอโนด)
                        .  Na+  เคลื่อนเข้าไปรับอิเล็กตรอนกลายเป็นอะตอม  Na   ที่เป็นกลางที่ขั้วแคโทด
                        .  Cl-  เคลื่อนที่เข้าไปให้อิเล็กตรอนแล้วกลายเป็นอะตอม  Cl  ที่เป็นกลาง แล้วรวมตัวกันเป็นโมเลกุล  Cl2  ของก๊าซที่แอโนด (ขั้วบวก)
รูปที่ 8 Downs cell  สำหรับผลิต  Na  และ  Cl2  จาก  NaCl  หลอมเหลวด้วยกระบวนการอิเล็กโทรลิซิส